Statistics
เปิดเมื่อ17/07/2012
อัพเดท5/08/2014
ผู้เข้าชม220518
แสดงหน้า281879
Twitter
Facebook Fan Page
BanshiCUInternship on Facebook




เทคนิคการสมัครงานแบบมือโปร โดย HR จากบริษัทชื่อดัง

เทคนิคการสมัครงานแบบมือโปร โดย HR จากบริษัทชื่อดัง
อ้างอิง อ่าน 38333 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
  • เทคนิคการสมัครงานแบบมือโปร
  • คำแนะนำดีๆในวันสัมภาษณ์
  • คำถามยอดฮิต สำหรับนักศึกษาจบใหม่
  • คำถามแปลกๆที่อาจจะเจอ
  
  •  เทคนิคการสมัครงานแบบมือโปร
เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่ มักจะรับคนที่มีประสบการณ์ที่เข้ามาร่วมงาน มากกว่าจะรับนักศึกษาใหม่ที่ขาดประสบการณ์ ดังนั้น สิ่งที่นักศึกษาเพิ่งจบใหม่ควรทำ เมื่อจะไปสมัครงานตามบริษัทต่างๆ เพื่อให้ผู้ว่าจ้างพิจารณารับเข้าทำงาน มีข้อควรจำ ดังนี้

1. การแต่งกาย
             ในวันที่ไปสมัครงานไม่ควรแต่งกายด้วยชุดนักศึกษา แต่ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าของคนทำงานเพื่อให้เราดูเป็นผู้ใหญ่ และ ดูน่าเชื่อถือ

2. อุปกรณ์
             ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการสมัครงานให้พร้อม เช่น ปากกา ดินสอ ยางลบ กรรไกร ที่เย็บกระดาษ เพื่อให้นายจ้างรู้ว่าเรามีความรอบคอบ แม้ในเรื่องที่เล็กน้อย

3. เอกสารการสมัครงาน
             ควรนำเอกสารการสมัครงาน เช่น รูปถ่าย สำเนาบัตรประชาชน สำเนาวุฒิการศึกษา สำเนาทะเบียนบ้านไปให้พร้อม ควรเตรียมจัดเป็นชุดไว้เลย เพื่อความสะดวกในการหยิบ

4. เรียนรู้ทักษะ
             ก่อนไปสมัครงาน ควรฝึกเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตการทำงานสมัยใหม่ให้คล่องพอตัว เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การใช้งานอินเตอร์เนท การรับส่งอีเมลล์ เพราะเป็นสิ่งที่บริษัทส่วนใหญ่ในปัจจุบันต้องการจากพนักงาน

5. เรียนรู้การใช้เครื่องใช้สำนักงาน
             ควรมีความรู้ในการใช้อุปกรณ์สำนักงานพื้นฐาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพริ้นเตอร์ เครื่องแฟกซ์ ก่อนไปสมัครงาน อุปกรณ์พวกนี้ใช้ไม่ยาก เราอาจขอเรียนรู้จากบริษัทที่ถ่ายเอกสาร แค่ดูๆ และ ถามเพื่อให้ทราบบ้าง ไม่จำเป็นต้องใช้คล่อง เพียงแต่ให้รู้บ้าง ก็นับว่าเราได้เปรียบในเรื่องนี้แล้ว

6. มั่นใจและมุ่งมั่น
             ทำตัวให้ผู้ว่าจ้างเห็นถึงความมุ่งมั่น และ ความมั่นใจ ว่าเราต้องการเข้ามาทำงานกับบริษัทนี้ เป็นอย่างมาก ไม่มีใครอยากได้พนักงานที่เรื่อยเฉื่อย หรือ ไม่แสดงความกระตือรือร้น เพราะฉะนั้น ถ้าอยากได้งาน ก็อย่าแสดงอาการไม่สนใจ หรือเฉยเมยจนเกินไป

7. ไม่มีปัญหา
             อย่าทำตัวให้มีปัญหาในเรื่องเงื่อนไขต่างๆ เช่น มีข้อต่อรองในเรื่อง เงินเดือน วันหยุด หน้าที่ความรับผิดชอบ สถานที่ทำงาน การทำงานล่วงเวลา รวมถึงการเดินาทง เพราะเรายังขาดประสบการณ์ในการทำงาน ดังนั้น จึงไม่ควรมีปัญหาในเรื่องเหล่านี้กับบริษัท เพราะ ทางที่ดีเราควรหาความรู้ตั้งแต่ก่อนมาสัมภาษณ์ ถ้าเราไม่สะดวกในเรื่องใด เราก็ควรไม่รับนัดสัมภาษณ์ตั้งแต่แรก เพื่อเป็นการไม่ทำให้บริษัทเขาเสียเวลาในการสัมภาษณ์เราด้วย เป็นต้น

8. ความรู้ด้านภาษา
             ฝึกอ่านคำศัพท์ที่ต้องใช้ในการสมัครงานให้คล่อง เพื่อให้เราสามารถกรอกใบสมัครงานที่เป็นภาษาอังกฤษได้ และ จุดนี้อาจทำให้นายจ้างเห็นว่า เรามีความสามารถที่จะทำงานในตำแหน่งที่เขาเปิดรับสมัครได้นั่นเอง ดังนั้น หากเรารู้ตัวว่า จุดด้อยของเรา คือ ไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะหาจุดเด่นอื่นที่สำคัญต่อการสมัครงานมารองรับ เพื่อให้บริษัทยอมรับเราเข้าทำงาน

9. การสัมภาษณ์
             การเข้าไปสัมภาษณ์งานของมือใหม่ส่วนใหญ่ ไม่ตื่นตกใจ จนทำอะไรไม่ถูก ส่วนใหญ่ก็มักจะไม่รู้จักประเด็นที่ตัวเองต้องการนำเสนอ ทำให้เวลาถูกสัมภาษณ์ตอบคำถามไม่ตรงประเด็น หรือ ตอบคำถามแบบไม่ถูกคำถาม
 

  • คำแนะนำดีๆในวันสัมภาษณ์
1. เตรียมตัวให้พร้อม นอนให้ไว หลับให้สนิท
2. แต่งกายให้สุภาพ สีเสื้อที่สบายตาช่วยให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกผ่อนคลาย เวลาสัมภาษณ์เรา เช่น สีฟ้าอ่อน ส่วนสีเทาไม่ค่อยดีเท่าไร เพราะทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกหมองๆ ไม่สดชื่น
3. หวีผมจัดแต่งทรงให้เรียบร้อย
4. ดับกลิ่นตัวหมดจด
5. ต้องไปก่อนเวลาอย่างน้อย 30 นาที
6. ขณะสัมภาษณ์ต้องมีสติตลอดเวลา อย่าตื่นตระหนก
7. ตั้งใจฟังคำถามให้ดี
8. อย่าโกหก
9. ยิ้มเล็กน้อย เวลาที่ฟัง และตอบคำถาม
10. อย่าหยิ่งผยอง ไม่มีใครต้องการคนแบบนี้เข้ามาสร้างปัญหาให้องค์กรนะคะ
11. อย่ากังวลว่าเกรดเฉลี่ยน้อยไม่ต้องกลัวค่ะ หลายที่ไม่ต้องการคนเก่งงาน แต่ว่าต้องการคนเก่งเรื่องคน และเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรของเขาได้ ปัจจุบัน EQ และทัศนคติที่ดีสำคัญกว่า งานเรียนรู้กันได้ และวิชาการตามกันทัน
12. จำไว้เสมอว่า เขารับเรามาแก้ปัญหานะคะ เราต้องแสดงให้เขามั่นใจว่า ถ้ารับเราแล้ว เราแก้ได้ แต่ไม่ได้ไปสร้างปัญหาให้เขาซะเอง
13. อย่าลืมถามอนาคตความก้าวหน้าอาชีพของตัวเองด้วยว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรกับที่นี่ และดูสิว่า นายเราเก่งไหม ฉลาดไหม มีกึ๋นหรือเปล่า มีอะไรที่สามารถเรียนรู้ได้ สอนเราได้บ้าง แต่ถ้าดูแล้วไม่ดี ไม่มีอนาคตปฏิเสธงานนี้ได้เลยค่ะ ไม่ได้มีผลดีต่อเรานักน่ะคะ
 

  • คำถามยอดฮิต สำหรับนิสิต/นักศึกษาจบใหม่
1. ทำไมคุณถึงสมัครงานตำแหน่งนี้
             ให้คุณอ่านคุณสมบัติที่บริษัทต้องการในประกาศรับสมัครงานอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการตอบคำถาม เช่น คุณอาจตอบว่า เป็นงานที่ตรงกับสิ่งที่คุณเรียนมา และคุณมีความสนใจชื่นชอบในงานลักษณะนี้ สมมติว่าเป็นงานที่ต้องคำนวณ หรือคิดวิเคราะห์ ก็ตอบว่าเป็นคนชอบคิด วิเคราะห์อยู่แล้ว จึงคิดว่าสามารถทำงานนี้ได้ พร้อมกับยกตัวอย่างประสบการณ์ตอนเรียนที่เกี่ยวกับการคิด วิเคราะห์ให้นึกภาพตามได้ง่ายๆ เพื่อสนับสนุนสิ่งที่คุณพูด

2. ไม่เคยมีประสบการณ์จะทำงานได้หรือ
             เมื่อคุณเป็นนิสิต/นักศึกษาจบใหม่ คุณอาจเป็นกังวลที่คุณยังไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน แต่ก็ไม่ใช่ว่า ไม่มีประสบการณ์จะหางานไม่ได้ เพราะทุกคนก็ต้องเคยเป็นเด็กจบใหม่ และไม่มีประสบการณ์มาก่อนทั้งนั้น ดังั้น ไม่ต้องเป็นกังวลค่ะ คุณสามารถตอบโดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ตอนฝึกงาน หรือประสบการณ์อื่นที่ใกล้เคียงก็ได้ หากไม่สามารถเชื่อมโยงอะไรได้เลย ก็ควรตอบว่า แม้คุณจะยังไม่มีประสบการณ์แต่คุณเป็นคนขยัน เรียนรู้เร็ว และพร้อมที่จะเรียนรู้เสมอ

3. ทำไมไม่สมัครงานที่ตรงกับสาขาที่เรียนมา
             หากคุณพบกับงานที่สนใจ แต่ไม่ตรงกับที่เรียนมา คุณมักจะเจอคำถามนี้ในการสัมภาษณ์งาน ซึ่งคุณไม่ต้องกลัว หากคุณมีความตั้งใจจริง เพราะมีคนมากมายที่ไม่ได้ทำงานในสิ่งที่เขาร่ำเรียนมา แต่เขาก็สามารถทำได้ หากตั้งใจเรียนรู้ แม้งานที่สมัครอาจไม่ตรงกับสาขาที่เรียนมา แต่หากเป็นงานที่คุณสนใจ คุณก็พร้อมจะเรียนรู้ และต้องทำมันได้ดีอย่างแน่นอน

4. ใช้คอมพิวเตอร์ หรือ สื่อสารภาษาอังกฤษได้หรือไม่
             หากทักษะคอมพิวเตอร์ยังอ่อนด้อย ภาษาอังกฤษยังอ่อนแอ อาจเสียเปรียบคนที่มีพื้นฐานมาดี แต่ก็ไม่เกินความพยายามอีกเช่นกัน คุณควรตอบไปว่า คุณกำลังจไปเรียนรู้เพิ่มเติม เพราะรู้ว่าเป็นทักษะที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน

5. ต้องการเงินเดือนเท่าไร
             ไม่ควรตอบว่าไม่รู้ เพราะอย่างน้อยควรจะรู้ตัวว่า ค่าใช้จ่ายในการครองชีพของคุณแต่ละเดือนต้องใช้เท่าไหร่ ค่าเช่าหอพัก ค่าเดินทาง ค่าอาหาร และอื่นๆ เมื่อคำนวณได้แล้วก็ควรจเผื่อสำหรับเหลือเก็บด้วย ดังนั้น ควรมีตัวเลขขั้นต่ำอยู่ในใจบ้างแล้ว อย่ากลัวว่าจะไม่ได้งานทำจนเรียกเงินเดือนต่ำเกินไปไม่พอใช้ เพราะในที่สุดคุณก็ต้องเสียเวลาหางานใหม่อยู่ดี ถ้าเงินเดือนไม่พอใช้จริงๆ นอกจากนี้ ควรสอบถามจากคนรู้จัก หรือหาข้อมูลเกี่ยวกับอัตราเงินเดือนนิสิต/นักศึกษาจบใหม่ในตำแหน่งที่คุณสมัครเพื่อใช้ประกอบการเรียกเงินเดือนที่เหมาะสมด้วย

6. คุณมีคำถามหรือไม่
             ก่อนจะจบการสัมภาษณ์งาน ผู้สัมภาษณ์มักเปิดโอกาสให้ถามคำถาม ไม่ควรตอบว่าไม่มี แต่ควรถามเพื่อแสดงความสนใจเกี่ยวกับบริษัท รวมถึงถามเกี่ยวกับงานในความรับผิดชอบที่คุณต้องทำ หรือถามเกี่ยวกับสวัสดิการ แนวทางการพัฒนาพนักงานที่บริษัทจะจัดหาให้ เป็นต้น นอกจากนี้ คุณยังสามารถถามได้ว่า จะทราบผลการสัมภาษณ์เมื่อไร เพื่อที่คุณจะสามารถติดตามผลหลังการสัมภาษณ์ได้
  

  • คำถามแปลกๆ ที่อาจจะเจอ
1. คุณขอเงินเดือนมาขนาดนี้ ยกตัวอย่าง 18,000 บาท คุณจะทำอย่างไรให้เราได้กำไรมามากกว่า 18,000 บาทที่เราลงทุนจ้างคุณไป?
2. คุณเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ในการตั้งเงินเดือนของคุณ คุณมีดีอะไร?
3. ถ้านายจ้างไม่สนับสนุนไม่ร่วมมือกับคุณแล้วคุณจะทำอย่างไร?
4. ข้างในโรงงานน่ะ ดื้อๆ นักเลงทั้งนั้น คุณจะอยู่ได้เหรอ อายุงานเก๋าๆทั้งนั้น?
5. คุณมีดีอะไรกว่าเพื่อนๆคุณที่จบมาเหมือนๆกัน
6. ใครเป็นบุคคลต้นแบบของคุณ เขามีดีอะไร? (อยากดูหน้าที่การงานในอนาคตของคุณ)
7. เพื่อนสนิทของคุณนิสัยมันเป็นยังไงบ้าง? (อยากทราบว่าคุณเป็นคนยังไง)
8. ถ้าพนักงานไม่ปฏิบัติตามที่คุณแนะนำคุณจะทำอย่างไร?

 



ที่มา:  เอกสารประกอบการเรียนวิชา HUMAN RESOURCE MGT 2602330
Redesign by BanshiCUInternship.myreadyweb.com
 
Administrator [125.24.108.xxx] เมื่อ 14/01/2017 13:57