เทคนิคการเขียน Resume อย่างมืออาชีพ |
|
อ้างอิง
อ่าน 14426 ครั้ง / ตอบ 0 ครั้ง
|
|
You're hired! การเขียน resume ให้ประทับใจนายจ้าง

ภาษาอังกฤษดีเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่งานที่คุณใฝ่ฝันไว้ แต่คุณต้องผ่านขั้นตอนการสมัครเสียก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น เขียน resume ของคุณให้เด่นกว่าของผู้สมัครคนอื่นๆ โดยเอาคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ จากเรามาใช้ประโยชน์ !
resume or CV ?
resume หมายถึงประวัติส่วนตัวโดยย่อของผู้สมัครวึ่งจะกล่าวถึงคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ และประสบการณ์การทำงาน ในประเทศอังกฤษจะใช้คำว่า CV หรือcurriculum vitaeแทน
Executive or entry-level?
การเขียน resume จะแบ่งออกเป็นส่วนๆ ขึ้นอยู่กับประเภทและตำแหน่งของงานที่คุณสมัคร ถ้าเป็นexecutive (ระดับผู้บริหาร) resume จะต้องดูแตกต่างจากระดับ entry-level (การสมัครงานครั้งแรก)
Objective
บางครั้งจะถูกกล่าวถึงในส่วนแรกของ resume เพื่อบรรยายเป้าหมายทางการงานของผู้สมัคร เช่น ตำแหน่งที่เขาหรือเธอหวังไว้โดยเฉพาะ
Personal profile
หมายถึงบทสรุปเกี่ยวกับความสามรถของผู้สมัครรวมทั้งลักษณะนิสัยและความ สำเร็จที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการกล่าวสรุปอย่างกว้างๆ ที่ลงไว้ในตอนต้นของ resume
qualifications or education
ส่วนนี้จะอธิบายถึงประวัติการศึกษาและการฝึกงาน เช่น ชื่อของสถาบันหรือมหาวิทยาลัยและคณะที่คุณเรียน รวมไปถึงคุณสมบัติอื่นๆ ที่คุณอาจมี
academic awards
ในส่วนนี้คุณควรลง honors (เกียรตินิยมหรือรางวัล) ทางการศึกษาที่คุณได้รับ รวมทั้งทุนการศึกษาต่างๆ เช่น fellowships, scholarships และ grants
work experience or employment history
ส่วนนี้จะบรรยายเกี่ยวกับประวัติการทำงานของคุณ รวมไปถึงตำแหน่ง ความรับผิดชอบ ระยะเวลา และความสำเร็จที่คุณได้รับ
certifications and publications
ถ้าเป็น professional resume จะต้องกล่าวถึงcertifications (professional examinations หรือ licenses), publications (หนังสือหรือบทความที่ได้รับการตีพิมพ์) หรือ affiliations (เป็นสมาชิกของ professional organizations)
references
ส่วนนี้จะเอ่ยถึงรายนามของบุคคลที่ยินดีแนะนำคุณให้สมัครในตำแหน่งนี้ ซึ่งอาจเป็นครูที่เคยสอน หรือนายจ้างคนก่อนก็ได้
cover letter
แค่ resume อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้นายจ้างประทับใจได้ คุณต้องแนบจดหมายแนะนำตัวไปด้วยซึ่งจะบอกกล่าวว่าคุณต้องการงานนี้เพราะเหตุใด
ที่มา: http://www.tcdcconnect.com + http://www.adecco.co.th
เทคนิคการเขียน Resume ให้น่าสนใจ
“การเขียน Resume ให้จูงใจคนอ่าน คือ การเขียนให้สอดคล้องกับความต้องการของเขา”
ในขั้นตอนการสมัครงานส่วนใหญ่นั้น สิ่งแรกที่นายจ้างจะรู้เห็นเกี่ยวกับเราก็คือ “Resume” หรือ ใบผ่านงานของเรา
Resume ที่ว่านี้ คือ เอกสารทางธุรกิจชนิดหนึ่งซึ่งจะมีข้อมูลพื้นฐานของเราปรากฏอยู่ อันได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ ข้อมูลการติดต่อ ข้อมูลการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน
ต่อไปนี้คือรายละเอียดการเขียน Resume สไตล์อเมริกัน ซึ่งสามารถยึดเป็นมาตรฐานสากลที่ใช้ได้โดยทั่วไป
รูปแบบ
- ให้เลือกทำ และส่ง Resume ด้วยไฟล์ Microsoft Word (หรือไม่ก็เป็น PDF)
- ก่อนที่เราจะลงมือเขียน ให้นึกถึงผู้ที่จะอ่านมันเป็นอันดับแรก ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเป็นกรรมการบริหาร ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการสื่อสาร ฝ่ายวิศวกรรม หรือฝ่ายค้นคว้าวิจัยก็ตาม พวกเขาย่อมต้องการจะรู้ว่า “คุณมีคุณสมบัติอะไรที่สอดคล้องกับความต้องการของแผนกเขาบ้าง”
- Resume ไม่ควรมีความยาวเกิน 2 หน้ากระดาษ A4 (สำหรับบัณฑิตใหม่ เขียนแค่หน้าเดียวก็พอ) โดยให้ระบุข้อมูลที่สำคัญที่สุดจากด้านบนของหน้าแรก เช่น ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมลติดต่อ ตำแหน่งที่คุณต้องการสมัคร และประสบการณ์ที่คุณมี สถานที่ และเบอร์ติดต่อ
- ใน Resume นั้นไม่จำเป็นต้องเขียนที่อยู่เต็มก็ได้ แต่ต้องเขียนเมือง รัฐ หรือประเทศให้ชัดเจน หาก Resume ของเรายาว 2 หน้า ก็ควรเขียนชื่อที่ด้านบนของหน้าที่ 2 ด้วย และหากไม่สะดวกที่จะให้ติดต่อที่ทำงาน ก็ไม่ต้องใส่เบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลที่ทำงานไว้ (รวมถึงไม่ควรส่ง Resume จากอีเมลที่ทำงานด้วย)
- หากที่อยู่ปัจจุบันของเราเป็นที่อยู่ชั่วคราวก็ต้องชี้แจงให้ชัดเจน และควรเขียนที่อยู่ถาวรพร้อมเบอร์โทรศัพท์ไว้ด้วย
- ถ้าเรามีเบอร์ติดต่อหลายเบอร์ เช่น เบอร์ที่ติดต่อได้ตอนกลางวัน เบอร์ที่ติดต่อได้ตอนกลางคืน หรือเบอร์โทรมือถือ ก็ต้องระบุให้ชัด อาจใส่อีเมลที่จะทำให้ติดต่อสะดวกยิ่งขึ้น (แต่ไม่ควรใช้ชื่ออีเมลที่ไม่สุภาพหรือไร้สาระเด็ดขาด)
เป้าหมาย และความสนใจ
- ต่อจากข้อมูลเรื่องสถานที่ติดต่อ เราควรสรุปความใฝ่ฝัน ความสนใจ ประสบการณ์ ทักษะ และเป้าหมายของเราด้วย โดยข้อสรุปนี้ไม่ควรยาวเกินสามบรรทัด
- ควรเตรียมข้อสรุปข้างต้นไว้มากกว่าหนึ่งแบบ เพื่อใช้ในการสมัครงานในตำแหน่งที่แตกต่างกัน (แต่ถ้าไม่สามารถเขียนข้อสรุปได้ดี ขอแนะนำว่าไม่ควรจะเขียนเลย)
ประสบการณ์ด้านอาชีพ
- แจกแจงประวัติการทำงานโดยเรียงลำดับตามปี และให้เริ่มจากงานสุดท้ายก่อน
- ระบุข้อมูลของช่วงเวลาที่เราทำงาน (เดือน และปี) ตามด้วยชื่อบริษัท คำจำกัดความของบริษัท (เช่น ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ หรือที่ปรึกษาด้านการบริหารแบรนด์ เป็นต้น) ที่ตั้ง ตำแหน่งงานของเราที่บริษัทนั้น และระบุหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน
- หากไม่มีตำแหน่งที่ชี้ชัด (ตามฝ่ายหรือแผนก) อาจจะระบุรายละเอียดงาน (ประเภทงานที่คุณทำ) ไปแทนก็ได้ เช่น วิศวกรอุตสาหกรรม กรรมการบริหารด้านการค้นคว้า สถาปนิก หรือกราฟิกดีไซเนอร์ เป็นต้น
- ในส่วนของการแจกแจงผลงาน ควรเน้นเฉพาะผลงานที่ผ่านมาในระยะเวลาอันใกล้ หลีกเลี่ยงรายละเอียดงานที่ผ่านมาเกิน 15 ปี ในแต่ละโครงการให้ระบุหน้าที่ของเรา จำนวนคนภายใต้บังคับบัญชา หรือจำนวนคนในตำแหน่งที่คล้ายกับเรา (เช่นคุณเป็นหนึ่งในสามของผู้จัดการฝ่ายออกแบบ) อาจกล่าวถึงความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานด้วย
- หากเคยเป็นที่ปรึกษา เราควรแจงรายชื่อลูกค้า และโครงการที่เคยทำให้ลูกค้าเหล่านั้นอย่างชัดเจน (ไม่ต้องกล่าวถึงงานชั่วคราว นอกเสียจากว่างานนั้นมีผลต่อตำแหน่งที่คุณกำลังสมัคร)
- บัณฑิตใหม่ให้ระบุงานที่เคยทำในช่วงที่เป็นนิสิตนักศึกษา เช่น งานช่วงปิดเทอม งานช่วยสหกรณ์ เป็นต้น
- ถ้าเรามีประสบการณ์อาชีพค่อนข้างมาก สามารถเขียน Resume ได้ถึง 2 หน้า ในหน้าที่ 2 นั้นให้เน้นรายละเอียดด้านประสบการณ์การทำงาน อาจใช้หัวข้อว่า “จุดเด่นในหน้าที่การงาน” ก็ได้ โดยให้ใส่ข้อมูลเพิ่มเติมจากหน้าแรก เช่น งบประมาณที่เคยบริหาร โครงสร้างของทีมงาน หน้าที่การจ้างงาน การควบคุมฝ่ายขาย หรือแม้กระทั่งการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ เป็นต้น
- โดยปกติแล้วถ้าเราอยู่ในตำแหน่งงานใดเป็นเวลานาน ก็ควรให้ข้อมูลตรงจุดนั้นมากหน่อย แต่หากงานนั้นผ่านมาเนิ่นนานแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาใส่ใน Resume นอกจากว่างานนั้นจะมีผลต่อการสมัครงานครั้งนี้เป็นอย่างมาก
- จากประวัติงานในอดีต หากมีหน้าที่ความรับผิดชอบใดที่เราไม่ต้องการจะทำอีก เราก็ไม่ควรเน้นถึงตรงนั้น
- จงรำลึกเสมอว่า “ข้อมูลข้อเท็จจริงนั้นสามารถตรวจสอบได้ง่ายมาก” บริษัทใหญ่ๆ มักจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่เราให้ไว้ ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงข้อมูลเท็จ และตรวจทานวันที่ให้แน่นอน
การศึกษา
- ควรแจกแจงโดยเรียงลำดับวันที่ย้อนหลังเช่นกัน รายละเอียดที่ควรกล่าวถึงได้แก่ ชื่อสถาบัน ที่ตั้ง วิชาเอก ระยะเวลาที่ศึกษา วันที่รับปริญญา รวมถึงเกียรตินิยมหรือรางวัลที่ได้รับ (ไม่ต้องแจงรายละเอียดวิชาที่เรียนมา)
- บัณฑิตใหม่สามารถเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ และคำอธิบายประกอบ (ในกรณีที่มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมาย และความสนใจ)
- ควรระบุรายละเอียดการศึกษาช่วงมัธยมปลายเฉพาะในกรณีที่สอดคล้องกับงานที่สมัคร
- ควรแจงข้อมูลเกี่ยวกับการฝึกอบรมหรือประกาศนียบัตรที่เคยได้รับด้วย
ข้อมูลส่วนตัว
เราไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น อายุ เพศ สถานภาพการแต่งงาน ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ สถานะการเกณฑ์ทหาร หรือข้อบกพร่องทางสุขภาพก็ได้ (ในสหรัฐอเมริกานั้นหากยังไม่มีการตกลงทำสัญญาจ้าง การที่นายจ้างถามถึงข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย)
ข้อมูลอื่นๆ
- เป็นข้อมูลชิ้นสุดท้ายซึ่งรวมถึงข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวกับตัวเรา “ที่ผู้ว่าจ้างอาจจะสนใจ” เช่น ภาษา และความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ความสนใจพิเศษ ความรู้ และทักษะที่ไม่ปรากฏในประวัติการทำงาน
- ควรแจงข้อมูล (ถ้ามี) เกี่ยวกับสมาชิกภาพกับองค์กรต่างๆ ประวัติการแสดงนิทรรศนาการ การได้รับรางวัล หรืองานที่เคยตีพิมพ์ ประสบการณ์ด้านการโต้วาที การอภิปรายหรือการประชุม รวมถึงใบอนุญาตต่างๆ ที่เราถืออยู่ในปัจจุบัน
ความง่ายในการอ่าน
- ให้ออกแบบ Resume เพื่อความสะดวกในกานอ่าน ชัดเจน รัดกุม อย่าเน้นดีไซน์มากจนเกินไป ตัวพิมพ์ไม่ควรเล็กกว่า 10 pt
- หลีกเลี่ยงการใช้ตัวพิมพ์สี พื้นสี หรือภาพกราฟิกที่จะทำให้อ่านยาก
Tips อื่นๆ
- หากเราเลือกส่ง Resume ทางอีเมล ข้อมูล และรูปแบบของ Resume นั้นจะต้องจูงใจเป็นพิเศษ ต้องสร้างความประทับใจได้ภายในย่อหน้าแรก (มิเช่นนั้นจะไม่มีใครอ่านต่อแน่นอน)
-บางคนอยากจะเขียนจดหมายนำก็ได้ไม่ผิด แต่ผู้อ่านส่วนใหญ่จะพลิกไปอ่านหน้า Resume ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้สมัครดังกล่าวมีคุณสมบัติตามเกณฑ์เบื้องต้น
- ความชัดเจน และรวบรัดเป็นเรื่องสำคัญมาก เช่นเดียวกับการเรียบเรียง และรูปแบบของการเขียน รวมทั้งไวยากรณ์ และตัวสะกดด้วย
- คำอธิบายเกี่ยวกับตำแหน่งงานตามประกาศรับสมัครคือข้อมูลเบื้องต้นที่ทำให้เราทราบว่า ผู้ว่าจ้างต้องการคุณสมบัติอะไรบ้างจากผู้สมัคร ฉะนั้นหาก Resume ที่เราส่งไปไม่สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว นายจ้างก็จะไม่สนใจ ไม่ว่าจดหมายนำของเราจะดูดีแค่ไหนก็ตาม
ที่มา : www.msn.co.th + http://www.adecco.co.th
ตัวอย่าง Resume
จาก บริษัท Adecco Consulting Limited.

**คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่**
ที่มา : เอกสารประกอบโครงการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพนิสิต หัวข้อ การเขียน Resume อย่างมืออาชีพ (12 ก.ย. 2554)
|
|
|